CoQ10 นู สกิน เพิ่มพลังให้เซลล์ บำรังหัวใจและสมอง

CoQ10 คืออะไร ?

โค เอนไซม์ คิวเทน (CoenzymeQ10) หรือ เรียกสั้นๆ ว่า โคคิว เทน (CoQ10) นั้น  จัดเป็นสารจำพวกวิตามินหรือคล้ายวิตามิน ซึ่งมีในทุกเซลล์ของร่างกาย โคคิว เทน ถูกค้นพบในปี ค.ศ.1957 ว่า เป็น โค เอนไซม์ ที่จำเป็นตัวหนึ่งในร่างกาย ทำหน้าที่เป็นตัวร่วมจุดประกายการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่สำคัญในกระบวนการสร้างพลังงานของ ไมโตคอนเดรีย แห่งเซลล์ของกล้ามเนื้อ ผู้วิจัยนำเสนอให้เข้าใจในบทบาทของโคคิว เทน ได้รับรางวัล Nobel ในปี ค.ศ.1978

CoQ10

CoQ10 สำคัญอย่างไร ?

โคคิว เทน ไม่ได้ให้พลังงาน แต่จำเป็นในการจุดเริ่มปฏิกิริยาเคมี เพื่อสร้างพลังงาน จึงมีความสำคัญต่อกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ เนื่องจากหัวใจต้องทำงานสม่ำเสมอตลอดเวลา ไม่ว่ายามตื่นหรือหลับ ประมาณ 95% ของพลังงานในร่างกาย ล้วนเกิดจากบทบาทของโคคิว เทน

 

จากการศึกษากว่า 25 ปี ในญี่ปุ่น สหรัฐอ เมริกา อิตาลี และ ประเทศอื่นๆ ทั่วโลก พบว่าผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจล้มเหลว ที่ทำการศึกษาล้วนมีภาวะขาดโคคิว เทนที่รุน แรง  ซึ่งเมื่อได้รับโคคิว เทน ปริมาณเพียงพอก็สามารถฟื้นฟูการทำงานของกล้าม เนื้อหัวใจอย่างได้ผล ยังใช้ช่วยอธิบายในกรณีหายใจลำบาก หายใจแล้วเหนื่อย ว่าอาจมีภาวะขาดโคคิว เทนร่วมด้วย

 

คุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ของโคคิว เทน ทำให้วงการแพทย์ นำ โคคิว เทน มาใช้ในการร่วมรักษาโรคต่างๆ ที่มีสาเหตุมาจากระดับสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายลดลง ได้แก่ โรคทาลัสซีเมีย และ โรคเซลล์สมองเสื่อมต่างๆ เช่น โรคพาร์ กินสัน เป็นต้น ยังช่วยคงไว้ซึ่งผนังเซลล์ จัดให้ โคคิว เทน เป็น potent antioxidant ป้องกันการเกิดริ้วรอยอีกด้วย

เมื่อขาด (CoQ10) จะมีผลอย่างไร ?

ในกรณีกล้ามเนื้อหัวใจ หากขาด โคคิว เทน มากเกินขนาด จะ ส่งผลให้ปริมาณ เซลล์ที่ไม่ทำงานมีมาก เมื่อถึงระดับหนึ่งย่อมไม่บีบตัวทำงาน เซลล์ที่เหลือย่อมปรับตัวโดยบีบให้ถี่ขึ้น หัวใจเต้นผิดจังหวะ ไม่มีแรงสูบฉีดเลือดส่งออกไปเลี้ยงอวัยวะ เราจะรู้สึกใจสั่น แต่อาจรู้สึกใจเต้นแรงก็เพราะหัวใจบีบผิดจังหวะ อาจเกิดอาการวิงเวียนศีรษะ เนื่องด้วยเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ และ อาจรู้สึกชาที่ปลายนิ้วมือนิ้วเท้าเพราะขาดเลือด อาการอ่อนเพลีย หายใจเหนื่อย ย่อมเกิดขึ้น ได้

นอกจากนี้การขาด โคคิว เทน ยังทำให้เกิดริ้วรอยเนื่องจากเซลล์ผิวหนัง และ กล้ามเนื้อชำรุดทรุดโทรมไป

เราจะสังเกตอาการขาด CoQ10 ได้อย่างไร ?

นอกจากอาการ ใจสั่น หัวใจเต้นแรงผิดจังหวะแล้ว อาการอื่นที่พบบ่อยในภาวะ ขาดโคคิว เทน ก็คือ เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง วิงเวียนศีรษะ ชีพจรเร็ว หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก ชาปลายมือปลายเท้า

ใครบ้างที่ควรได้รับ CoQ10 เพิ่มเติม ?

ภาวะขาด โคคิว เทน อาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุหลัก 3 ประการคือ การได้รับปริมาณโคคิว เทน จากอาหารไม่เพียงพอ ความบกพร่องของกลไกการสร้าง โคคิว เทนในร่างกายและภาวะที่มีการใช้ โคคิว เทน มาก เกินปกติ เช่น การออกกำ ลังกายมากเกิน ภาวะช็อค หรือมีกระบวนการเผาผลาญพลังงานมากผิดปกติ (hypermetabolism)

สำ หรับบุคคลทั่วไป แม้ว่าร่างกายจะ สร้างโคคิว เทน ได้เอง แต่ความสามารถนี้จะลดลง เมื่ออายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป ในขณะที่ปริมาณที่ร่างกายต้องการกลับไม่ลดลง พบว่าการสังเคราะห์ โคคิว เทนในร่างกายต้องอาศัยวิตามินถึง 7 ตัว และ แร่ธาตุอีกหลายรายการ

ผลการศึกษา และ วิจัยทางการแพทย์ ก็ได้มีหลักฐานสนับสนุนคุณประโยชน์ ของโคคิว เทน ในด้านต่างๆ โคคิว เทน ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากวงการ แพทย์ว่ามีบทบาทร่วมรักษาโรคหัวใจ โรคความดัน โลหิตสูง และ โรคเส้นเลือด ในสมอง (stroke) โดยพบว่าเมื่อผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวได้รับ โคคิว เทน อย่างต่อเนื่อง กล้ามเนื้อหัวใจที่ทรุดโทรม จะสามารถกลับคืนสู่สภาวะปกติ และ ทำงาน ได้ดีขึ้น ภาวะหัวใจล้มเหลว เช่น อาการใจสั่น เหนื่อยล้า เจ็บหน้าอก หายใจลำ บากดีขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ จำเป็นต่อผู้ที่ ได้รับยาลดไขมัน หรือยาลดระดับคลอ เลสตอรอลในเลือด เพราะยาลดไขมันมักหยุดยั้งกระ บวนการสร้าง โคคิว เทน ก่อ เกิดภาวะขาดโคคิว เทน รุนแรง

คุณประโยชน์ของโคคิวเทนในแง่การรักษาโรค

  1. โรคหัวใจ

จากผลการทดลองในผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง โดยจัดให้ผู้ป่วยได้รับโคคิว เทน เพิ่มเติมในปริมาณ 100 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าระ ดับพลาสม่า โคคิว เทน สูงขึ้นถึง 3 เท่า ดัชนีวัดค่าความหนาผนังกล้ามเนื้อหัวใจสูงขึ้นทั้ง ในส่วนของ rest and peak dobutamine stress echo โดยสูงขึ้น 12.1% และ 15.6% ตามลำดับ

  1. โรคความดันโลหิตสูง

ในการศึกษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงของ Dr. Langsjoen ผู้ป่วยร้อยละ 51 มีอาการดีขึ้น มี Diastolic pump มากขึ้น จนหยุดยาลดความดันโลหิตได้ภายใน 4 เดือนหลังการใช้โคคิว เทน

  1. ผลข้างเคียงจากยาลด ไขมัน (statin)

ผู้ป่วยโรคหัวใจที่ได้รับการรักษาด้วยยาลด ไขมัน (statin drug therapy) มักพบอาการข้างเคียงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอาการอ่อนเพลีย อ่อนล้า (fatigue) ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ (myalgia) หายใจติดขัด หายใจลำบาก (dyspnea) ความจำเสื่อม (memory loss) หรืออาการชา (peripheral neuropathy) แต่เมื่อได้รับโคคิว เทน เพิ่มเติมในปริมาณ 240 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 12-22 เดือน พบว่าโคคิว เทน สามารถช่วยลดอาการข้างเคียงต่างๆ อย่างได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จากเดิมที่พบว่ามีอาการอ่อนเพลียอ่อนล้า 84% เหลือเพียง 16% อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อลดจาก 64% เหลือเพียง 6% อาการหายใจลำบาก ลดจาก 58% เหลือ 12% ความจำ เสื่อมลดจาก 8% เหลือ 4% และ อาการชาลดจาก 10% เหลือ 2%

  1. โรคทาลัสซี เมีย

สำหรับผู้ป่วยโรคทาลัสซีเมียการได้รับโคคิว เทน เพิ่มเติมในปริมาณ 100 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลา 6 เดือนติดต่อกัน จะ ช่วยลด oxidative stress ทำ ให้การต้านอนุมูลอิสระทำงานได้ดียิ่งขึ้น

  1. โรคที่ เกิดจากเซลล์สมองเสื่อม

การศึกษาพบว่า โคคิว เทน สามารถชะลอการเสื่อมของเซลล์สมองที่เกิดจาก oxidative stress โดยโคคิว เทน จะทำหน้าที่ stabilizing mitochondria membrane ด้วยเหตุนี้โคคิว เทน จึงเป็นทางเลือกของการรักษาผู้ป่วยโรคที่เกิดจากเซลล์สมองเสื่อม ได้แก่ โรคพาร์กินสัน โรค Friedreich’s Ataxia

IMG 8068

ทำอย่างไรเราจึงจะได้รับโคคิวเทนในปริมาณที่เพียงพอ ?

CoQ10 มีมากในน้ำมันถั่วเหลือง ปลาทะเล เนื้อสัตว์ ถั่วลิสง และ ผักโขม เป็นต้น แต่ต้องได้รับปริมาณมากพอจึงจะรักษาสมดุลการทำงานของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย อีกทั้งความร้อนจากการปรุงหรือเก็บรักษาอาหารก็อาจทำให้สารนี้เสื่อมสลายไป ได้ ในการรับประ ทานอาหารปกติของเราจะได้โคคิว เทน ประมาณ 3-5 มิลลิกรัมต่อวันเท่านั้น ผู้ที่มีความต้องการมากกว่านี้จึงต้องได้รับโคคิว เทนเสริมขนาดที่ แนะนำทั่วไปคือ 20-30 มิลลิกรัมต่อวัน ส่วนขนาดที่ใช้ป้องกันหรือเสริมการรักษา โรคอยู่ที่ 100-300 มิลลิกรัมต่อวัน เนื่องจากโคคิว เทน ละลายได้ดีในไขมัน จึงควรกินพร้อมอาหาร เพื่อให้ดูดซึมได้ดี และควรรับประทานต่อเนื่องนานกว่า 2 เดือนขึ้นไปจึงจะเห็นผล

สนใจสั่งซื้อ/สอบถามเพิ่มเติม
Line @ : @gsgbguru (มี @ ด้วยนะคะ)
โทร : 062-696-6596

ทำไมต้องซื้อกับร้านเรา?

รับบัตรเครดิตทุกธนาคาร

ขอบคุณลูกค้าทุกๆท่านที่ให้เราดูแล