อาการปวดหัว

6 อาการปวดหัว สัญญาณอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

อาการปวดหัว เป็นอาการที่พบได้บ่อยทั่วไป ซึ่งอาการปวดหัวนั้นมีหลายประเภทและสาเหตุ วันนี้เราจึงจะมาให้ความรู้เกี่ยวกับประเภทของอาการปวดหัวและสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการเหล่านี้ เพื่อให้คุณเข้าใจและรู้จักกับอาการปวดหัวมากขึ้นกันค่ะ เพราะอาการปวดหัวเรื้อรังอาจเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรง

หากมีอาการปวดหัวเรื้อรังที่รุนแรงหรือมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุและรับการรักษาที่เหมาะสม เช็คสุขภาพ

อาการปวดหัว

สารบัญ

อาการปวดหัว บอกอะไรเราได้บ้าง

อาการปวดหัว (Headache) เป็นอาการที่พบได้บ่อยในคนทั่วๆไป ซึ่งอาการปวดหัวนี้เกิดจากโครงสร้างภายในศีรษะที่ถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยต่างๆที่หลากหลาย เช่น ความเครียด การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ การใช้ยาบางชนิด หรือโรคบางชนิดนั่นเองค่ะ

ตำแหน่งของอาการปวดหัวสามารถบอกถึงสาเหตุของอาการปวดหัวได้ในระดับหนึ่ง

  • อาการปวดหัวไมเกรน (Migraine headache)

หากมีอาการปวดหัวข้างเดียวบริเวณขมับหรือกระบอกตา มักเกิดจากอาการปวดหัวไมเกรน (Migraine headache) ซึ่งเป็นอาการปวดหัวที่รุนแรงกว่าปวดหัวจากความเครียด มักมีอาการปวดตุบๆ หรือปวดบีบแน่นบริเวณขมับหรือกระบอกตาข้างเดียว อาจร้าวไปด้านหลังศีรษะหรือหน้าผากร่วมด้วย เป็นอาการปวดศีรษะเรื้อรังชนิดหนึ่งที่รบกวนชีวิตประจำวัน มักมีอาการปวดหัวข้างเดียว และปวดตุบๆ ตามจังหวะชีพจร นอกจากนี้อาจมีอาการไวต่อแสงหรือเสียงที่ทำให้รู้สึกวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย

สำหรับสาเหตุของอาการปวดหัวไมเกรนเชื่อว่าเกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมองหรือการทำงานของหลอดเลือดที่อาจเป็นปัจจัยในการกระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัวไมเกรนได้

  • อาการปวดหัวขมับสองข้าง จากกล้ามเนื้อตึงตัว (Tension-type headache)

ปวดหัวบริเวณหน้าผากและขมับทั้งสองข้าง มักเกิดจากอาการปวดหัวจากความเครียด (Tension headache) ซึ่งเป็นอาการปวดหัวที่พบได้บ่อยที่สุด มักมีอาการปวดตึงบริเวณหน้าผากและขมับทั้งสองข้าง อาการปวดนี้อาจร้าวไปด้านหลังศีรษะหรือต้นคอร่วมด้วย หากอาการปวดไม่รุนแรงมากจะสามารถหายได้เองภายใน 2-3 ชั่วโมงค่ะ

            สำหรับสาเหตุของอาการปวดหัวจากกล้ามเนื้อตึงตัว เกิดจากการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อบริเวณศีรษะ คอ และบ่า ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยกระตุ้นต่างๆ เช่น การนั่งหน้าคอมเป็นเวลานานๆ

  • อาการปวดหัวข้างเดียว ปวดหัวคลัสเตอร์ (Cluster headache)

ปวดหัวคลัสเตอร์ (Cluster headache) เป็นโรคปวดศีรษะชนิดหนึ่งที่มีอาการปวดรุนแรงข้างเดียวบริเวณกระบอกตาหรือขมับ มักเกิดขึ้นเป็นช่วงๆ โดยที่มักจะมีอาการปวดหัวรุนแรงเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ประมาณ 15 นาทีถึง 3 ชั่วโมง โดยอาจมีอาการปวดบ่อยได้ถึงวันละ 1-2 ครั้ง บางรายมีอาการคัดจมูกน้ำมูกไหล เหงื่อออก หรือรูม่านตาหดร่วมด้วย

สำหรับสาเหตุของอาการปวดหัวข้างเดียว มักเกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 (trigeminal nerve) และเส้นเลือดบริเวณรอบๆ สมอง ที่ส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวรุนแรง

  • อาการปวดหัวไซนัส (Sinus headache)

ปวดหัวบริเวณหน้าผากและกระบอกตาทั้งสองข้าง  เป็นอาการปวดหัวที่เกิดจากเยื่อบุโพรงไซนัสอักเสบ เพราะโพรงไซนัสเป็นช่องว่างบริเวณใบหน้าที่เต็มไปด้วยอากาศ เยื่อบุโพรงไซนัสจะผลิตเมือกเพื่อหล่อลื่นและป้องกันไม่ให้โพรงไซนัสอุดตัน อย่างไรก็ตามหากเยื่อบุโพรงไซนัสอักเสบ เยื่อบุจะบวมและผลิตเมือกมากเกินไป จึงส่งผลให้โพรงไซนัสอุดตันและเกิดอาการปวดหัว และมีอาการปวดตึงบริเวณหน้าผากและกระบอกตาทั้งสองข้างได้ นอกจากนี้ยังสามารถส่งผลให้เกิดอาการอื่น ๆ เช่น คัดจมูก น้ำมูกไหล น้ำมูกข้น มีไข้ได้อีกด้วย

  • อาการปวดหัวต่อเนื่องทุกวัน (New daily persistent headaches: NDPH)

ปวดหัวต่อเนื่องทุกวัน (NDPH) เป็นอาการปวดหัวที่พบได้บ่อย มีลักษณะปวดหัวทั่วศีรษะแบบไม่ระบุตำแหน่งอย่างกระทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุ มีอาการปวดหัวในระดับเล็กน้อยถึงปานกลางต่อเนื่องนานหลายสัปดาห์ถึงหลายเดือน อาการปวดหัวต่อเนื่องทุกวัน (NDPH) มักมีอาการคล้ายอาการปวดหัวไมเกรน โดยอาจมีสาเหตุเกิดจากการอักเสบภายในโครงสร้างบริเวณรอบศีรษะ การติดเชื้อ เนื้องอกในสมอง หรือปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดที่จำเป็นต้องได้การตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดโดยแพทย์ค่ะ

  • ปวดหัวเรื้อรังไม่หาย สัญญาณอันตราย ที่ควรรับการตรวจ

อาการปวดหัวเป็นอาการที่พบได้บ่อยทั่วไป สาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากความเครียด การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ การใช้ยาบางชนิด หรือโรคบางชนิด ซึ่งโดยทั่วไปแล้วอาการปวดหัวนี้ จะสามารถหายได้เองภายใน 2-3 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามหากมีอาการปวดหัวเรื้อรังที่ไม่หายหรือมีอาการรุนแรงขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุและรับการรักษาที่เหมาะสมกันด้วยนะคะ

อาการปวดหัวไมเกรน

วิธีแก้ อาการปวดหัวมีอะไรบ้าง

หากมีอาการปวดหัว ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้มาก หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการปวดหัว เช่น ความเครียด แสงจ้า เสียงดัง งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่ หากอาการปวดหัวไม่ดีขึ้นหรือปวดรุนแรง ควรรับประทานยาแก้ปวดตามคำแนะนำของแพทย์

อาการปวดหัว แบบไหนที่ควรไปพบแพทย์

ควรไปพบแพทย์หากมีอาการปวดหัวดังต่อไปนี้

  • มีอาการปวดหัวรุนแรงแบบทนไม่ได้
  • มีอาการปวดหัวบ่อยครั้งหรือปวดหัวนานกว่า 2-3 ชั่วโมง
  • มีอาการปวดหัวพร้อมกับอาการอื่น ๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนแรง พูดไม่ชัด ชัก
  • มีอาการปวดหัวในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี
  • มีอาการปวดหัวที่มีลักษณะเปลี่ยนไปจากเดิมหรือไม่เคยเป็นมาก่อน

อย่างไรก็ตาม ตำแหน่งของอาการปวดหัวไม่สามารถระบุสาเหตุของอาการปวดหัวได้อย่างแม่นยำเสมอไป ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวดหัวและรับการรักษาที่เหมาะสมจะดีที่สุด

อาการปวดหัวข้างเดียว

สรุป อาการปวดหัว

อาการปวดหัว เป็นอาการที่พบได้บ่อยในบุคคลทั่วไป ซึ่งมีหลายประเภทและสาเหตุที่เป็นตัวการของอาการปวด แต่อย่างไรก็ตามหากคุณมีอาการปวดหัวไมเกรน ซึ่งเป็นอาการปวดหัวที่รุนแรงและมีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน และการแพ้อากาศควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวดหัวและรับการรักษาที่เหมาะสมจะดีที่สุด 

นอกจากนี้อย่าลืมการดูแลสุขภาพให้ดี เช่น การพักผ่อนเพียงพอ ดื่มน้ำเพียงพอ ออกกำลังกาย ลดความเครียด เพื่อลดปัจจัยกระตุ้นและลดความเสี่ยงในการเกิดปวดหัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นูสกินโปรโมชั่น